ผู้ช่วย AI พัฒนาไปไกลได้แค่ไหน? ชวนดู Black Mirror - Netflix
ใครเคยมีประสบการณ์ดูหนัง sci-fi แล้วสงสัยว่าทำไมมันถึงกลายมาเป็นเรื่องจริงได้หรือเปล่า?
ถ้ายังไม่เคยลองดูซีรีส์รวมเรื่อง ผลงานจาก Netflix ที่มีชื่อว่า Black Mirror แล้วละก็ อาจจะยังไม่เข้าใจว่าทำไมถึงต้องว้าวได้ขนาดนี้
เหตุผลก็เพราะซีรีส์ดังกล่าวได้พูดถึงการที่ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เข้ามาทดสอบศีลธรรม สิทธิและความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการสอดส่องติดตามผู้อื่นตลอด 24 ชม. ไปจนถึงการปลอมแปลงบุคคลโดยใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ บวกกับจุดพลิกฉากที่ทำให้เนื้อเรื่องและสิ่งที่ Charlie Brooker ผู้กำกับต้องการจะสื่อนั้นได้รับความสนใจอย่างมาก
บางตอนก็มีเนื้อหาที่เข้าถึงได้ เข้าใจได้มากกว่า เช่น “Nosedive”, “Hated in the Nation” หรือตอน “Smithereens” ที่กล่าวถึงอำนาจของโซเชียลมีเดียที่มากถึงขั้นสำมารถตัดสินชีวิต ความเป็นอยู่ของคนได้
บางตอนก็อาจมีเนื้อหาที่น่าตั้งข้อสังเกตหรือหลุดโลกไปเลย เช่น การเปลี่ยนถ่ายจิตสำนึก สังคมบริโภคนิยม หรือการคัดลอกข้อมูลทางดิจิตัล
แต่สิ่งที่เตะตาก็คือปรากฎการณ์ที่เห็นกันมาบ้างแล้ว ซึ่งเป็นผลของการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็คือผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์และระบบลอกเลียนแบบเสียง(ที่คาดว่าน่าจะเป็น) AI
เราคาดเดาว่าจะต้องเกิดขึ้นจริง และปีพ.ศ. 2566 นี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งก็คือการปล่อยตัว ChatGPT นี่เอง
ภาพในจินตนาการของผู้ช่วย AI ในเรื่อง Black Mirror
(ไม่สปอยล์เนื้อหาในซีรีย์)
ตอนที่มีชื่อว่า “Rachel, Jack and Ashley Too” (Season 5, Episode 3) นั้นกำกับโดย Anne Sewitsky และเริ่มฉายในปี 2019 ซึ่งพูดถึงการผสมผสานเทคโนโลยีผู้ช่วย AI โดยใช้เทคนิคมาร์เก็ตติ้งที่ขายความเป็นศิลปินชื่อดังอย่าง Ashley O ผ่านหุ่นยนต์ที่มีชื่อว่า “Ashley Too” มีหน้าตาลักษณะคล้ายกันที่ถูกสร้างมาเพื่อเป็นเพื่อนคุยแก้เหงา ขยันให้กำลังใจเป็นพิเศษ
แต่เจ้าหุ่นยนต์ประเภทนี้ก็ทำให้นึกถึงเจ้าหุ่นยนต์ตัวขน Furby ที่มาแรงในช่วงสิบปีก่อนอยู่ไม่น้อย แค่หน้าตาน่ากลัวน้อยกว่าและดูเป็นมิตรกับวัยอื่นมากกว่าเท่านั้นเอง
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่เพียงแค่จะแสดงให้ถึงการใช้ประโยชน์จากศิลปินเพื่อการทำเงินผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ด้วยการละเมิดสิทธิและกฎหมาย ปรับแปลงเสียงร้องโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นปัญหาที่เหล่าศิลปินในปัจจุบันกำลังประสบอยู่ แต่ยังได้พูดถึงก็ใช้ประโยชน์จากผู้ช่วย AI ในวงการบันเทิงที่น่าตั้งคำถามด้วย เพราะผู้ช่วย AI นั้นได้รับความนิยมและพัฒนามาตั้งแต่ช่วงกลางปีทศวรรษที่ 2010
ถ้าเป็นเรื่องการถ่ายโอนจิตสำนึกแล้วละก็ ไม่มีนักวิทยาศาสตร์ที่สามารถให้คำตอบได้ในตอนนี้ได้แน่นอน (แค่แต่งเติมเรื่องให้ดูน่าสนใจเท่านั้นเอง)
การใช้งานผู้ช่วย AI ในชีวิตประจำวัน
การบริโภค science fiction ไม่ใช่เรื่องเพ้อเจ้อ เพราะอาจจะทำให้เรามานั่งวิเคราะห์ความเป็นจริงในปัจจุบันที่เรามองข้ามได้
แต่สุดท้ายแล้ว สิ่งที่สำคัญคือการไม่หยุดพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะมาช่วยเติมเต็มช่องว่าง ความผิดพลาดของมนุษย์และปัญหาทางสังคม เป็นประโยชน์และสำคัญต่อการดํารงอยู่ของมนุษย์
หรือถ้าอธิบายให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ก็คือเพื่อปรับปรุงชีวิตและสร้างประโยชน์ให้กับตัวบุคคล องค์กร และสังคมโดยรวม
ตอนนี้เรารู้แล้วว่าผู้ช่วย AI นั้นขับเคลื่อนด้วยการเรียนรู้ของเครื่องและโมเดลภาษาขนาดใหญ่ นักพัฒนาที่มองการณ์ไกลเหล่านี้จึงพัฒนาและสร้างสรรค์เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกสบายและการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น (และมั่นใจว่า AI เหล่านี้จะไม่ครอบครองโลกของเราอย่างแน่นอน)
ผู้ช่วย AI ด้านธุรกิจ
"ผู้ช่วย AI กลายเป็นเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกสําหรับครัวเรือนและสิ่งจําเป็นสําหรับธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม"
ตั้งแต่อุตสาหกรรมความงามจนถึง สุขภาพและธนาคาร ผู้ช่วย AI นั้นได้รับการรับรองแล้วว่ามีประสิทธิภาพ ประหยัดค่าใช้จ่าย และสามารถเข้าถึงได้ 24/7 ด้วยการผสมผสานกับแพลตฟอร์มอื่นๆ
ASAP และ Amity Voice ก็เป็นผลิตภัณฑ์ตัวอย่างที่เกิดจากจากความต้องการเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถช่วยให้ธุรกิจของคุณไปไกลถึงระดับโลกและพัฒนาระบบการดําเนินงานให้ดีขึ้นได้ โดยเน้นไปที่การบริการลูกค้าผ่านระบบที่ขับเคลื่อนด้วย GPT
เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราสําหรับข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่