AI ผู้ช่วยช็อปปิ้ง มาตรฐานสิทธิพิเศษใหม่
เป็นหนึ่งในผู้นำเข้าระบบผู้ช่วยช้อปปิ้ง AI หรือนำเทรนด์ประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์ก่อนใคร
คำว่า "ผู้ช่วยช้อปปิ้ง" โดยทั่วไปจะครอบคลุมการรวมเทคโนโลยีที่หลากหลาย ตั้งแต่หุ่นยนต์บริการ AI จนถึงแชทบอทตอบข้อความอัติโนมัติ เพื่อป้องกันความสับสน เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ช่วยช้อปปิ้งส่วนบุคคลที่ช่วยลูกค้าตามกระบวนการตั้งแต่เลือกซื้อสินค้า ถามคำถาม แลกรับคะแนนสมาชิก และกดชำระเงิน
ซึ่งเป็นความต้องการซื้อที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
ยอดจำนวนผู้ช็อปออนไลน์ทั่วโลกในปี 2023 นั้นมากถึง 2.64 พันล้านคน และคาดว่าจะยังเพิ่มขึ้นต่อไป เนื่องจากส่วนแบ่งตลาดการซื้อของออนไลน์ผ่าน e-commerce “จะแตะหลายล้านล้านดอลลาร์" ในปี 2026 ตามข้อมูลจาก Forbes Advisor
การซื้อของออนไลน์ได้กลายเป็นกิจวัตรประจำวันของคนมากมายไปแล้ว โดย 79% ของผู้ช้อปกล่าวว่าพวกเขาซื้อของออนไลน์อย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อเดือน
ในบรรดา AI แชทบอททั้งหลาย เราต้องสร้างความแตกต่าง
ปัจจุบันเรามีทางเลือกที่หลากหลายให้ผู้บริโภคไม่ว่าจะทั่วโลกหรือในประเทศ ธุรกิจต่างๆ จึงได้นำเทคโนโลยี AI เช่นแชทบอทเข้ามาเพื่อปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าให้ดีขึ้น
เพราะฉะนั้นคำถามต่อมาคือ นอกจากการรักษาบริการหลังการขาย เราสามารถให้ผู้ช่วย AI ดูแลลูกค้าในทุกขั้นตอนการซื้อขายได้หรือไม่?
บริษัทใหญ่ได้ลองนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในบางขั้นตอน และได้ผลลัพธ์ที่น่าประทับใจอย่างมาก เช่น Claros ของ Amazon และ Shop.app AI ของ Shopify เพื่อช่วยในการแสดงรายการสินค้าและการตอบคำถาม
เครื่องมือเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดความซับซ้อนในการค้นหาและแสดงผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องตามความต้องการของผู้ใช้ แต่ยังช่วยประหยัดเวลาโดยสามารถกลับมาดูประวัติแชทของผู้ใช้ได้เสมอหากต้องการย้อนดูสินค้าที่แชทบอทเคยแนะนำ
ผู้ช่วยช็อปปิ้ง AI สามารถลดปัญหาการทิ้งสินค้าที่ใส่ไว้ในตะกร้าได้หรือไม่
เรายังพบอีกหนึ่งปัญหาที่น่าสนใจ จากข้อมูลปี 2023 เราได้ค้นพบว่าทำไมผู้บริโภคถึงถอนตะกร้าออนไลน์ของพวกเขา เรียกง่ายๆ ก็คือเปลี่ยนใจยังไม่ซื้อตอนนี้นี่เอง
เหตุผลรวมถึงค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ภาษีและค่าจัดส่ง (48%) การต้องลงทะเบียนบัญชี (24%) การจัดส่งช้า (22%) ข้อกังวลเรื่องข้อมูลบัตรเครดิต (18%) และความซับซ้อนของขั้นตอนการเช็คเอาท์ (17%)
ลูกค้ายังมีแนวโน้มที่จะไม่ชำระเงินซื้อสินค้าให้เสร็จสมบูรณ์บนอุปกรณ์มือถือมากกว่าการสั่งซื้อบนคอมพิวเตอร์
เราคงเคยมีประสบการณ์กันมาบ้าง อย่างการกดฝากสินค้าที่เรายังไม่มีกำลังซื้อไว้ในตะกร้าหรือฝากไว้ในตะกร้าเผื่อโอกาสอื่นในอนาคต
Use case ระดับโลกควรค่าแก่การเรียนรู้
ฟีเจอร์คำสั่งเสียง เช่น Walmart Voice ซึ่งร่วมกับ Google Assistant และ Siri โดยลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าของ Walmart และได้รับประสบการณ์การช้อปปิ้งที่สะดวกสบายผ่านการเปิดใช้งานผู้ช่วย AI ด้วยเสียง เป็นทางเลือกและ Use Case ที่น่านำไปพัฒนาต่ออย่างมาก
แอป Virtual Artist ของ Sephora ก็เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเมื่อเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเนื่องจากเป็นสินค้าที่ต้องทดลองใช้ก่อนซื้อ
โดยแอปจะให้บริการใส่ฟิลเตอร์ AI ตามสีและลักษณะของสินค้านั้นๆ บนใบหน้าของผู้ใช้ และให้คำแนะนำที่เหมาะสมตามแต่ละบุคคลที่ไม่สามารถทดลองสินค้าเองที่ร้านได้
ซึ่งได้ผลการตอบรับที่ยอดเยี่ยมระดับโลก นำมาปรับใช้ได้ตรงจุดถูกใจลูกค้า
จากที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่าแบรนด์ได้ศึกษาความต้องการของลูกค้าและเรียนรู้จากพวกเขา ดังนั้นแต่ละแบรนด์จะนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาแตกต่างกันตามประเภทของลูกค้า
แล้วผู้ช่วยช้อปปิ้ง AI ที่อำนวยความสะดวกได้แม้ขั้นตอนการเช็คเอาท์ละ?
ถ้าบอกว่าขั้นตอนนี้ง่ายพอๆ กับขั้นตอนอื่น ก็คงจะต้องโกหก
ผู้ช่วยช้อปปิ้ง AI ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้กับทุกขั้นตอนด้วยเหตุผลบางประการ เพราะมีข้อกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการนำมาใช้ นโยบายความเป็นส่วนตัว ความไม่สะดวกใจของผู้ใช้ และความเสี่ยงข้อมูลบัตรเครดิตรั่วไหล เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เหตุผลเหล่านี้ไม่ควรจะทำให้ธุรกิจหยุดนำเสนอวิธีการหรือไอเดียใหม่ๆ ที่จะสร้างประสิทธิภาพและปรับปรุงประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์ให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
โดยแนวความคิดที่เป็นไปได้ แต่ประสบปัญหาทางเทคนิคหรือไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเงิน สามารถเกิดขึ้นจริง เริ่มต้นจากการเลือกผู้ช่วย AI ที่เหมาะสมที่สุดในแพลตฟอร์มต่างๆ
แม้แต่ Voicebot องค์กรก็สามารถสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่เพื่อยกระดับแพลตฟอร์มธุรกิจของคุณได้
อ่านข้อมูลสินค้า AI เพิ่มเติม คลิกที่นี่